การจ่ายเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละวันจะมีจำนวนค่อนข้างมาก เนื่องจากรายจ่ายของกิจการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน และต้องเป็นการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แต่มีการจ่ายเงินบางกรณีที่ประมวลรัษฎากรได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งในทางปฎิบัติจึงมักจะพบปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่เป็นประจำว่า... รายการใดต้องหักภาษี รายการใดไม่ต้องหักภาษี และต้องหักในอัตราใด ปัญหาการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จึงมักจะเกิดขึ้นกับธุรกิจทุกประเภท โดยมักจะมีข้อถกเถียงกันระหว่างผู้จ่ายเงินกับผู้รับเงินทุกครั้งไป หนังสือ "การวางแผนภาษีหัก ณ ที่จ่าย" รวบรวมวิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ละประเภทไว้อย่างละเอียดครบถ้วนไขข้อข้องใจปัญหาการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องหักหรือไม่ หักอัตราใดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใหม่ของประมวลรัษฎากรเพื่อให้ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง - การหักภาษีตามมาตรา 3 เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 - การจ่ายค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าโทรศัพท์ บริการธนาคาร - การจ่ายค่าขนส่ง SHIPPING, FREIGHT FORWARDER - การจ่ายค่าจ้างทำของ การให้บริการจะหักอย่างไร
MARC Information