"เสวยราชสมบัติกษัตรา" ผลงานของ "ดร.นนทพร อยู่มั่งมี" และ "ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์" ที่ได้ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ มาเขียนคำนำเสนอ ว่าด้วยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ และสถาปัตยกรรมเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งล้วนแต่มีความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ พร้อมภาพประกอบอันทรงคุณค่า พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม เนื้อหาในเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เขียนโดย ดร.นนทพร อยู่มั่งมี ว่าด้วย "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ความหมายของพระราชพิธี หลักฐานที่กล่าวถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนไทย ตลอดจนขั้นตอนการประกอบพระราชพิธี ส่วนที่ 2 เขียนโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ว่าด้วย "เครื่องประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์" พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์มีเครื่องประกอบพระราชพิธีเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยมากได้อัญเชิญไปตั้งแต่งอยู่บนพระแท่นมณฑลในหมู่พระมหามณเฑียรอันเป็นมณฑลในการประกอบพระราชพิธี และอีกส่วนหนึ่งใช้ในการถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องประกอบพระราชพิธีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งอุดมมงคล เพื่อความเป็นสิริสวัสดิมงคลในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายประวัติความเป็นมาและความหมายสำคัญ ส่วนที่ 3 เขียนโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ว่าด้วย "สถาปัตยกรรมเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์" อธิบายถึงสถานที่ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือ หมู่พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยพระที่นั่งหลายองค์ โดยหลักๆ ที่ใช้ประกอบพระราชพิธี ซึ่งมี พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ผู้เขียนจะอธิบายว่า พระที่นั่งแต่ละองค์มีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งประวัติการก่อสร้าง และรูปแบบสถาปัตยกรรม

Published date : Jun 23, 2020
Publisher : มติชน
Page : 304 หน้า
Rating :
Available Only 1 more copies!
SHARE ON SOCIAL MEDIA :

MARC Information

020 a : ISBN 
9789740216520 
245 a : Title 
เสวยราชสมบัติกษัตรา 
260 b : Name of publisher 
มติชน 
260 c : Date of publication 
2562 
300 a : Total pages 
304 หน้า 
520 a : Description 
"เสวยราชสมบัติกษัตรา" ผลงานของ "ดร.นนทพร อยู่มั่งมี" และ "ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์" ที่ได้ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ มาเขียนคำนำเสนอ ว่าด้วยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ และสถาปัตยกรรมเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งล้วนแต่มีความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ พร้อมภาพประกอบอันทรงคุณค่า พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม เนื้อหาในเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เขียนโดย ดร.นนทพร อยู่มั่งมี ว่าด้วย "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ความหมายของพระราชพิธี หลักฐานที่กล่าวถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนไทย ตลอดจนขั้นตอนการประกอบพระราชพิธี ส่วนที่ 2 เขียนโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ว่าด้วย "เครื่องประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์" พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์มีเครื่องประกอบพระราชพิธีเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยมากได้อัญเชิญไปตั้งแต่งอยู่บนพระแท่นมณฑลในหมู่พระมหามณเฑียรอันเป็นมณฑลในการประกอบพระราชพิธี และอีกส่วนหนึ่งใช้ในการถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องประกอบพระราชพิธีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งอุดมมงคล เพื่อความเป็นสิริสวัสดิมงคลในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายประวัติความเป็นมาและความหมายสำคัญ ส่วนที่ 3 เขียนโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ว่าด้วย "สถาปัตยกรรมเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์" อธิบายถึงสถานที่ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือ หมู่พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยพระที่นั่งหลายองค์ โดยหลักๆ ที่ใช้ประกอบพระราชพิธี ซึ่งมี พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ผู้เขียนจะอธิบายว่า พระที่นั่งแต่ละองค์มีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งประวัติการก่อสร้าง และรูปแบบสถาปัตยกรรม 

No Reviews

  1. There are no reviews yet, why not be the first.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.